การจัดทำใบกำกับภาษีที่ถูกต้อง

หลักการทำใบกำกับภาษีหลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
สิ่งที่ลูกค้าของผมมักจะทำกันไม่ถูก
นั่นคือ !!!

“ใบกำกับภาษี”

วันนี้ผมจึงสรุป
หัวใจของการจัดทำใบกำกับภาษี ที่ถูกต้อง
มาให้ติดตามกันครับ… ไปดูกัน

การออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องครับ

เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเสร็จสิ้นแล้ว หน้าที่อย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ…
การออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องครับ
วันนี้ผมจะสรุปเป็นข้อ ๆ ที่เข้าใจง่ายพร้อมภาพอธิบายประกอบดังนี้ครับ

          (1)   ในใบกำกับภาษีต้องมี คำว่า “ใบกำกับภาษี”

          (2)   ต้องมี ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และ ระบุคำว่าสำนักงานใหญ่หรือสาขาที่…… ของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ

          (3)   ต้องมี ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และ ระบุคำว่าสำนักงานใหญ่หรือสาขาที่…… ของผู้ซื้อสินค้าหรือให้บริการ

          (4)   ต้องมี หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)

          (5)   ต้องมี วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

          (6)   ต้องมี ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ

          (7)   ต้องมี จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง

ใบกำกับภาษี

***เพิ่มเติม กรณีที่ใบกำกับภาษีที่มีลักษณะเป็นแบบเอกสารออกเป็นชุด เช่น ออกเอกสารพร้อมใบเสร็จรับเงิน/ใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับในชุดเดียวกัน และใบกำกับภาษีไม่ใช่เอกสารฉบับแรกสุด ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ในเอกสารฉบับแรกของเอกสารชุดดังกล่าว หรือต้นฉบับของเอกสารฉบับอื่นใดก็ตาม ที่ไม่ใช่ใบกำกับภาษี จะต้องมีข้อความว่า “ไม่ใช่ใบกำกับภาษี” ระบุไว้
  • ในเอกสารทั้งชุดจะต้องมีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ระบุไว้
  • ในเอกสารที่เป็นสำเนาทั้งหมดจะต้องมีข้อความว่า “สำเนา” ระบุไว้

====================================================

“หลังจากอ่านบทความนี้จบ ผมเชื่อว่าคุณได้ 2 อย่างนี้แน่ ๆ ครับ”
“ข้อที่ 1 คุณจะรู้วิธีออกใบกำกับภาษีขาย ที่ถูกต้องให้แก่ลูกค้าของคุณแน่นอน”
“ข้อที่ 2 คุณจะรู้ว่า ใบกำกับภาษีซื้อที่คุณได้รับมานั้น มันถูกต้องแล้วหรือยัง ? ลองเอาไปเช็คกันดูครับ”

ขอบคุณครับ
อากอล์ฟ…
www.yimyimaccounting.com
ยิ้ม ยิ้ม การบัญชี || รับทำบัญชีนนทบุรี สำนักงานบัญชีนนทบุรี จดทะเบียนบริษัท สำนักงานบัญชี ทำบัญชี
“คุณจะไม่ได้แค่ผู้ทำบัญชี แต่คุณจะได้ที่ปรึกษาอยู่เคียงข้างคุณตลอดไป…”